การผูกเหล็กและเข้าแบบเสา



หลังจากเทฐานรากหรือพื้นแล้ว ก็จะต้องหา Line เสา โดยจะให้เป็น Center Line ของเสา ทั้งสองแกน หรือให้เป็น Offset Line ก็ได้

หาตำแหน่งเสาจริงเพื่อตั้งแบบ แล้วจึงตีกรอบไม้ตีนแบบ โดยใช้ไม้ 1 1/2″ x 3″

การติดตั้งเหล็กเสา มีข้อสังเกต คือ

          - เหล็กต้องไม่ยื่นออกนอกแนวเสา

          - ถ้ามีปั้นจั่นใช้งาน จะต้องผูกเสาเป็นโครง แล้วใช้ปั้นจั่นยกขึ้นติดตั้งจะประหยัดค่าแรงมากกว่า การผูกเหล็กเส้นในที่

          - ถ้าเหล็กเสาสูงมากทำให้เอียงจะต้องใช้สลิงดึงไว้หรือใช้ไม้ค้ำ

          - การโผล่เหล็กตอกเสา (Starter Bar) เพื่อทาบเหล็กต้องเช็กจากแบบหรือ Spec ว่าต้องต่อเยื้องระยะทาบ 50% หรือไม่

          - เช็กขนาดจำนวนของเหล็กยื่น และระยะห่างเหล็กปลอกให้ตรงตามแบบ ให้ตรวจสอบก่อนเข้าแบบเสา

          - ผูกลูกปูน Covering ไว้ที่เหล็กยืนเสา

ประกอบแบบเสาเป็นโครงตาม Form work Assembly โดยจะต้องตรวจสอบแบบ ตามรายการดังกล่าวก่อนยกขึ้นติดตั้ง ได้แก่

          - จำนวนโครงคร่าว

          - ความหนาไม้อัดสำหรับทำแบบต้อง = 15 มม. เท่านั้น

          - ต้องทำความสะอาดผิวไม้แบบ และทาด้วยน้ำมันทาแบบทุกครั้ง

ยกแบบเสาขึ้นติดตั้งและยึดตีนเสาไว้กับไม้ตีนแบบ

ติดตั้งโซ่ หรือสลิงยึดรั้งปากแบบ 4 มุม พร้อมกับ Turn Buckle เพื่อจัดดิ่งเสา โซ่/สลิง = 3 หุน, Turn Buckle = 5 หุน เช็คดิ่ง > 1/400

ติดตั้งเหล็กรัดเสาระยะห่างตาม Form work Assembly ขัดให้แน่น

เช็กดิ่งเสาโดยใช้ลูกดิ่งอย่างน้อย 2 ด้าน โดยเช็คที่ตำแหน่งใกล้ปากแบบและตีนเสา

อุดรูที่ตีนเสาและรอยต่อแบบ

ขอขอบคุณข้อมูลความรู้ดี ๆ จาก เรื่องราวข่าวสารก่อสร้าง